คำถามที่พบบ่อย
การบริจาคอวัยวะการบริจาคร่างกาย
คือการมอบอวัยวะ เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่อวัยวะนั้นๆ เสื่อมสภาพคือการอุทิศรางกายให้นักศึกษาแพทย์ใช้ศึกษา โดยเรียกกันว่า “อาจารย์ใหญ่”
ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตายเท่านั้น (ยกเว้น ไต 1 ข้าง, ตับ, ไขกระดูก เป็นต้น ที่สามารถบริจาคได้ตอนยังมีชีวิตอยู่)ผู้บริจาคเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ และมีอวัยวะครบ
หลังผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะไปให้ผู้ป่วยที่ได้รับบริจาค แพทย์จะตกแต่งร่างกายของผู้บริจาคให้เรียบร้อย แล้วมอบให้ญาติไปประกอบพิธีทางศาสนาหลังจากการเสียชีิวิต ต้องแจ้งให้ไปรับร่างภายใน 24 ชั่วโมง หลังการศึกษา 2 ปี ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนั้น ๆ จะประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลให้เอง
รับแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะจากทั่วประเทศ โดยติดต่อได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย, เหล่ากาชาดจังหวัดทุกแห่ง, โรงพยาบาลประจำจังหวัดแสดงความจำนงโดยติดต่อได้ที่คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีเกณฑ์การรับอุทิศร่างกายต่างกัน

คุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ โดยทั่วไปมีรายละเอียด ดังนี้
1. อายุไม่เกิน 65 ปี
2. เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย
3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
5. อวัยวะที่จะบริจาคต้องทำงานได้ดี
6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
7. ควรแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะให้บุคคลในครอบครัวหรือญาติรับทราบด้วย

อวัยวะที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ไต 2 ข้าง, ปอด 2 ข้าง, หัวใจ, ตับ, ตับอ่อน นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ลิ้นหัวใจ, หลอดเลือด, ผิวหนัง, กระดูก, เส้นเอ็น, กระจกตา

สามารถแสดงความจำนงบริจาคได้ทั้งหมด ทั้งนี้เมื่อผู้บริจาคเสียชีวิต แพทย์จะพิจารณาตามหลักวิชาการและความเหมาะสมอีกที

การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ควรแจ้งให้ญาติทราบด้วย เพราะหากเสียชีวิตและสามารถบริจาคอวัยวะได้ ญาติต้องเซ็นยินยอมบริจาคอวัยวะเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง หรือเป็นผู้แจ้งให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยทราบว่าผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเสียชีวิต หากญาติิไม่ยินยอมจะถือว่าการบริจาคนั้นเป็นอันยกเลิก

สมองตาย คือ ภาวะที่แกนสมองถูกทำลายจนสูญเสียการทำงานอย่างสิ้นเชิงและถาวร ไม่สามารถรักษาให้ฟื้นคืนชีพได้อีก ทางการแพทย์จึงถือว่าเสียชีวิตแล้ว โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองตายมาจากการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง หรือเส้นเลือดแตกในสมอง หรือเลือดออกในช่องสมอง ซึ่งการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะสมองตายหรือไม่ ต้องตรวจโดยแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน และทำการตรวจ 2 ครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

ในการบริจาคอวัยวะ แพทย์จะรับอวัยวะจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย แต่ยังให้เครื่องช่วยหายใจอยู่ และตราบใดที่ร่างกายยังมีออกซิเจนไหลเวียนในเลือด เลือดก็ยังไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นจึงสามารถนำอวัยวะของผู้ที่มีภาวะสมองตาย ไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะใหม่เพื่อความอยู่รอด

เมื่อได้รับบริจาคอวัยวะมาแล้ว ทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะจะจัดสรรให้แก่ผู้ที่รออวัยวะซึ่งได้ทำการลงทะเบียนกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะไว้ โดยผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายหัวใจ ปอด และตับ ที่มีอาการป่วยหนักจะได้รับการจัดสรรอวัยวะให้ก่อน ทั้งนี้การรับบริจาคอวัยวะจะพิจารณาจากหมู่เลือด ความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ ระดับภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อ ระยะเวลาที่รออวัยวะ และอายุผู้ป่วยด้วย

ในกรณีที่ผู้บริจาคเสียชีวิตจากภาวะสมองตาย จะไม่สามารถระบุให้นำอวัยวะผู้เสียชีวิตไปให้ญาติหรือคนในครอบครัวได้ เพราะศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยจะจัดสรรอวัยวะให้กับผู้รอด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่มีการซื้อขายอวัยวะ

แต่ในกรณีที่ผู้บริจาคอวัยวะยังมีชีวิตอยู่ สามารถบริจาคอวัยวะ เช่น ไต 1 ข้าง, ตับ, ไขกระดูก เป็นต้น ให้กับญาติโดยสายเลือด หรือคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกันไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือมีบุตรที่เกิดจากสามี ภรรยาคู่นั้นเท่านั้น ตามระเบียบสภากาชาดไทยว่าด้วยศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

ในกรณีที่ญาติรับทราบว่าผู้เสียชีวิตได้แสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะไว้ ญาติควรโทรแจ้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยทันทีหลังผู้บริจาคเสียชีวิต โดยแจ้งได้ที่ โทร. 1666 หรือ 0-2256-4045-6 ซึ่งแพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อประเมินสภาพการทำงานของอวัยวะว่าเหมาะสมสำหรับนำไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยอื่นหรือไม่ จากนั้นจะผ่าตัดนำอวัยวะออก (ใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง) ภายหลังผ่าตัดแล้วแพทย์จะตกแต่งร่างให้คงเดิม และมอบร่างให้ญาตินำกลับไปประกอบพิธีทางศาสนา