เกี่ยวกับเรา
การปลูกถ่ายอวัยวะในปัจจุบัน เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยต่อชีวิตใหม่ให้แก่ผู้ป่วยที่หมดหวังที่จะรักษาด้วย วิธีการอื่นๆ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษานี้คือ การให้ได้มาซึ่งอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิตในประเทศไทย แต่ละปีคาดคะเนว่ามีผู้เสียชีวิตที่อยู่ในเกณฑ์บริจาคอวัยวะได้เกือบ 2,000 คน แต่ในความเป็นจริงยังมีข้อจำกัดในการนำอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิตมาใช้ รักษาผู้ป่วยอยู่มาก อุปสรรคที่สำคัญคือ การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะภายหลังที่เสียชีวิต แล้วทั้งในวงการแพทย์และสาธารณชน การส่งตัวผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้วจากโรงพยาบาลนอกปริมณฑล กรุงเทพมหานคร รวมทั้งการประสานงานระหว่างสถาบันต่างๆ ทำให้อวัยวะที่ได้มาต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ อุปสรรคดังกล่าว นอกจากเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียอวัยวะบริจาค อันเป็นทรัพยากรทางการแพทย์ที่สำคัญเป็นจำนวนมากแล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้ เกิดความเหลื่อมล้ำ ในการนำอวัยวะบริจาคไปใช้ในการรักษา ตลอดจนอาจนำไปสู่การซื้อขายอวัยวะในที่สุด

สภากาชาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าเป็นการสมควรที่จะเข้า มาช่วยเหลือโดยเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการ เพราะเป็นองค์กรกลางการกุศล ได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชนและวงการแพทย์ จึงได้เริ่มเสนอโครงการจัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทย โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 และคณะกรรมการฯ นี้ได้มีการประชุมร่วมกับแพทย์จากสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หลังจากนั้นได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์ฯ ต่อคณะกรรมการเจ้าหน้าที่ และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2531 จากนั้นเสนอให้คณะกรรมการสภากาชาดไทยรับทราบเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2531 ต่อมาได้มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทย เป็นการภายในในสังกัดของสำนักงานกลาง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2533 แต่เนื่องจากยังขาดสถานที่ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น

ในช่วงปี พ.ศ.2536 อันเป็นโอกาสครบรอบร้อยปีสภากาชาดไทย สภากาชาดไทยได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะ และแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 โดยมี พลตำรวจเอก เภา สารสิน เป็นประธานกรรมการ และในต้นปี พ.ศ. 2537 ได้จัดหาสถานที่ทำการของศูนย์ฯ และได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537
นโยบาย
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริจาคอวัยวะให้มากเพียงพอต่อการปลูกถ่ายอวัยวะภายในประเทศ จัดสรรอวัยวะที่ได้รับบริจาคอย่างเป็นกลาง เสมอภาค โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะและให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อการนำอวัยวะต่าง ๆ ไปใช้

วัตถุประสงค์
1. เป็นศูนย์รับแจ้งความจำนงในการบริจาคอวัยวะจากผู้มีจิตกุศลตั้งแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่
2. เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างโรงพยาบาลที่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งญาติมีความประสงค์ที่จะบริจาคอวัยวะกับโรงพยาบาลที่มีผู้รอรับการบริจาคอวัยวะ
3. เป็นศูนย์กลางรับการลงทะเบียนผู้ป่วยรอรับการบริจาคอวัยวะทั่วประเทศ
4. เป็นศูนย์กลางในการจัดสรรอวัยวะบริจาค ด้วยความเสมอภาคและถูกต้องตามหลักวิชาการ
5. เป็นศูนย์ข้อมูล บริการข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะแก่วงการแพทย์และสาธารณชนโดยทั่วไป
6. เป็นตัวแทนในการติดต่อประสานงานกับศูนย์รับบริจาคในประเทศข้างเคียง หากมีการจัดสรรแลกเปลี่ยนอวัยวะระหว่างประเทศในอนาคต

หน้าที่
1. รับแจ้งความจำนงในการบริจาคอวัยวะจากผู้มีจิตกุศล ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่
2. เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างโรงพยาบาลที่มีผู้เสียชีวิตจากสมองตายกับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ ในการบริจาคอวัยวะ การผ่าตัดนำอวัยวะออก การเดินทางของทีมผ่าตัด และการขนส่งอวัยวะ
3. รับลงทะเบียนผู้รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะจากโรงพยาบาลที่ทำการปลูกถ่ายอวัยวะทั่วประเทศเพื่อไม่ให้เกิดการลงทะเบียนซ้ำซ้อน และเพื่อให้ทราบจำนวนผู้รอรับบริจาคอวัยวะตามความเป็นจริง โดยศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ไม่รับลงทะเบียนจากผู้รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะโดยตรง
4. จัดสรรอวัยวะที่ได้รับบริจาคมาอย่างเสมอภาค ตามหลักวิชาการซึ่งกำหนดโดยคณะอนุกรรมการวิชาการ
5. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการบริจาคอวัยวะ โดยการประชาสัมพันธ์ให้การศึกษาในเรื่องการบริจาคและการปลูกถ่ายอวัยวะ

วิสัยทัศน์
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย เป็นศูนย์บริการอวัยวะและเนื้อเยื่อระดับชาติ โดยเป็นองค์กรหลักที่มุ่งดำเนินการเพื่อให้มีการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่ออย่างเพียงพอต่อการปลูกถ่ายอวัยวะภายในประเทศ มีการจัดสรรด้วยความเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของวงการแพทย์และสังคม ภายใต้คุณภาพและการบริหารงานในระดับมาตรฐานสากล ตลอดจนมุ่งมั่นที่จะยกระดับสู่ความเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชีย

พันธกิจ
1. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการบริการอวัยวะและเนื้อเยื่อของประเทศ ประสานงาน ร่วมมือกับเครือข่ายปลูกถ่ายอวัยวะในระดับภูมิภาคและระดับโลก
2. ระดมการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่ออย่างเพียงพอ ด้วยการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจสำหรับประชาชน โดยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีจิตสำนึกที่ดีต่อการบริจาคอวัยวะ และให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายการบริจาคอวัยวะทั่วประเทศ
3. กำกับดูแลการบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อตามบทบาทที่กฎหมายและแพทยสภากำหนด เพื่อให้มีธรรมาภิบาล เป็นไปตามหลักวิชาการและหลักจริยธรรมสากล โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะเพื่อเป็นช่องทางทางการค้า และไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริจาค
4. พัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อให้มีการบริหารจัดการเอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำ โดยจัดสรรอวัยวะอย่างเป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส ตรวจสอบได้ และถูกต้องตามหลักวิชาการพร้อมให้การสนับสนุนกระบวนการบริจาค และปลูกถ่ายอวัยวะ รวมทั้งพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามผลการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ
โครงสร้างการบริหารจัดการของศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย เป็นหน่วยงานที่มีสายงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการสภากาชาดไทย โดยมีคณะกรรมการอำนวยการ เป็นผู้วางนโยบาย วัตถุประสงค์ และส่งเสริมสนับสนุนงานของศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ให้เป็นไปตามนโยบายโดยวางระบบ กำหนดระเบียบและกฏเกณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับไว้วางใจจากสาธารณชนและวงการแพทย์ ในการที่จะให้ความร่วมมือเพื่อที่จะให้การดำเนินการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และความมุ่งหมาย

คณะกรรมการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ แบ่งได้ดังนี้
- คณะกรรมการอำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
- คณกรรมการวิชาการ
- คณะกรรมการกฎหมาย
- คณะกรรมการส่งเสริมกิจการ

ศ.กิตติคุณ นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล
ประธานกรรมการอำนวยการ
ศ.กิตติคุณ นพ. จรัส สุวรรณเวลา
ประธานกรรมการวิชาการ
ศ.พิเศษ เรวัต ฉ่ำเฉลิม
ประธานกรรมการกฏหมาย
นายกลินท์ สารสิน
ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการ


คณะกรรมการอำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ

ที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา

ประธานกรรมการอำนวยการ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล

กรรมการ
- ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
- เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ
- เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ
- นายแพทย์ใหญ่ (สบ 8) โรงพยาบาลตำรวจ
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- นายกแพทยสภา
- นายกสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน
- ศาสตราจารย์พิเศษ เรวัต ฉ่ำเฉลิม
- ดร.อภิชัย จันทรเสน
- ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์
- นายกลินท์ สารสิน
- นายแพทย์โสภณ เมฆธน
- นางผาณิต พูนศิริวงศ์

กรรมการและเลขานุการ
ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
รองผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

คณะกรรมการวิชาการ
คณะกรรมการวิชาการทำหน้าที่พิจารณาวางระบบการทำงานและประสานงานเพื่อปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างศูนย์รับบริจาคอวัยยวะฯ โรงพยาบาลที่มีผู้เสียชีวิตบริจาคอวัยวะ และโรงพยาบาลที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ รวมทั้งญาติผู้เสียชีวิต รวมทั้งการจัดสรรอวัยวะ ฯลฯ

ประธานกรรมการ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา

รองประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ

กรรมการ
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
- เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ
- เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ
- นายแพทย์ใหญ่ (สบ 8) โรงพยาบาลตำรวจ
- ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- เลขาธิการแพทยสภา
- เลขาธิการมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน
- นายกสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย
- นายแพทย์กุลพัฒน์ วีรสาร

กรรมการและเลขานุการ
รองผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- นางอรุณณี จึงสง่าสม
- หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ

คณะกรรมการกฎหมาย
ทำหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นในเรื่องความหมายและเกณฑ์สมองตาย พิจารณาข้อความที่ใช้ในแบบฟอร์มแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้รัดกุมในทางกฎหมาย และปัญหาที่เกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการบริจาคและการนำอวัยวะมาปลูกถ่าย

ประธานกรรมการ
ศาสตราจารย์พิเศษ เรวัต ฉ่ำเฉลิม

รองประธานกรรมการ
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

กรรมการ
- ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส
- นายอรรถพล ใหญ่สว่าง
- นายศิวะพร ชมสุวรรณ
- ดร.อุทัย อาทิเวช
- นายเชวง ไทยยิ่ง
- รองศาสตาจารย์มานิตย์ จุมปา
- รองศาสตาจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชพล ไชยพร
- ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

กรรมการและเลขานุการ
รองผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
- หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

คณะกรรมการส่งเสริมกิจการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทาง วางแผนการดำเนินงานด้านการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ การลงทุน การเงินและประชาสัมพันธ์โครงการพิเศษ ควบคุม ติดตาม ดูแล การดำเนินงานด้านการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ การลงทุน การเงินและประชาสัมพันธ์โครงการพิเศษของศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ การลงทุน การเงินและประชาสัมพันธ์โครงการพิเศษแก่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ประสานงานระหว่างบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรภายนอกเกี่ยวข้องกับงานด้านการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ การลงทุน การเงินและประชาสัมพันธ์โครงการพิเศษของศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ

ประธานกรรมการ
นายกลินท์ สารสิน

รองประธานกรรมการ
นายอนุรุธ ว่องวานิช

กรรมการ
- นายกิตติ พัฒนลีนะกุล
- นายณฐพงศ์ พินิตพงศ์กุล
- ดร.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด
- ดร.ประสาน ภิรัชบุรี
- นายเป็นหนึ่ง ไชยชิต
- นางพรพิมล ใจงาม
- นายแพทย์รุจาพงศ์ สุขบท
- ดร.ศิริกุล เลากัยกุล
- พลตำรวจตรีสุรพล เกษประยูร
- ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์
- ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
- รองผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
- นายทนง ลี้อิสสระนุกูล
- นางผาณิต พูนศิริวงศ์
- นางรุ่งฟ้า เกียรติพจน์
- นายสมเกียรติ ปานพูนทรัพย์
- นางสาววรรณพร รัตนถาวรกิจ
- เภสัชกรหญิง วรรณศิริ นิ่มพิทักษ์พงศ์
- นายแพทย์ราวิน วงษ์สถาปนาเลิศ
- นายนิกร เอี่ยมวรสมบัติ

กรรมการและเลขานุการ
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
- นางสาวเอมิกา เครือจันทร์

นายแพทย์วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์
ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุภนิติ์ นิวาตวงศ์
รองผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
นางสาวสุภนิดา เกษร
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป
นางสาวยุวดี อรรถจารุสิทธิ์
หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ


ฝ่ายบริหารทั่วไป (อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 19 อัตรา)
- หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป 1 อัตรา
- เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 อัตรา
- เจ้าหน้าที่การเงินการบัญชี 3 อัตรา
- เจ้าหน้าที่พัสดุ 1 อัตรา
- เจ้าหน้าที่บุคลากร 1 อัตรา
- เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน 1 อัตรา
- เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 1 อัตรา
- เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 1 อัตรา
- เจ้าหน้าที่ธุรการ 6 อัตรา
- พนักงานขับรถ 2 อัตรา
- นักการภารโรง 1 อัตรา

ฝ่ายปฎิบัติการ (อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 14 อัตรา)
- หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ 1 อัตรา
- พยาบาล 6 อัตรา
- นักเทคนิคการแพทย์ 3 อัตรา
- เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ 2 อัตรา
- เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 อัตรา
- นักการภารโรง 1 อัตรา

คลังเนื้อเยื่อ (อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 8 อัตรา)
- หัวหน้าหน่วย 1 อัตรา
- แพทย์ 1 อัตรา
- พยาบาล 2 อัตรา
- ผู้ช่วยพยาบาล 4 อัตรา
โรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายไต

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 ธันวาคม 2561

โรงพยาบาล เริ่มเป็นสมาชิกตั้งแต่
1. จุฬาลงกรณ์ 1 กุมภาพันธ์ 2537
2. ศิริราช 1 กุมภาพันธ์ 2537
3. รามาธิบดี 1 กุมภาพันธ์ 2537
4. พระมงกุฎเกล้า 1 กุมภาพันธ์ 2537
5. มหาราชนครเชียงใหม่ 1 กุมภาพันธ์ 2537
6. ศรีนครินทร์ 1 กุมภาพันธ์ 2537
7. สงขลานครินทร์ 1 กุมภาพันธ์ 2537
8. ตำรวจ 30 สิงหาคม 2538
9. ภูมิพลดุลยเดช 11 กรกฎาคม 2540
10. ราชวิถี 29 กรกฎาคม 2540
11. บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล* 29 กรกฎาคม 2540
12. สมิติเวช สุขุมวิท* 29 กรกฎาคม 2540
13. กรุงเทพ* 29 กรกฎาคม 2540
14. พระรามเก้า* 29 กรกฎาคม 2540
15. พญาไท 1* 29 กรกฎาคม 2540
16. วชิรพยาบาล 12 ตุลาคม 2541
17. ไทยนครินทร์* 20 พฤศจิกายน 2543
18. ชลบุรี 20 ธันวาคม 2543
19. สรรพสิทธิประสงค์ 9 เมษายน 2546
20. สมิติเวช ศรีนครินทร์* 19 พฤษภาคม 2547
21. พญาไท 2 25 มกราคม 2549
22. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 7 พฤศจิกายน 2550
23. สุราษฎร์ธานี 18 มกราคม 2555
24. หาดใหญ่ 16 กรกฎาคม 2557
25. ขอนแก่น 29 เมษายน 2558
26. อุดรธานี 29 เมษายน 2558
27. สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ 15 สิงหาคม 2561
รายชื่อโรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายตับ

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 ธันวาคม 2561

โรงพยาบาล เริ่มเป็นสมาชิกตั้งแต่
1. จุฬาลงกรณ์ 1 กุมภาพันธ์ 2537
2. ศิริราช 1 กุมภาพันธ์ 2537
3. รามาธิบดี 1 กุมภาพันธ์ 2537
4. ราชวิถี 21 พฤศจิกายน 2538
5. บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล* 25 มีนาคม 2545
6. สมิติเวช สุขุมวิท* 9 เมษายน 2546
7. วิชัยยุทธ* 8 ธันวาคม 2547
8. ศรีนครินทร์ 16 พฤษภาคม 2550
9. กรุงเทพ* 1 กรกฎาคม 2552
10. มหาราชนครเชียงใหม่ 15 ตุลาคม 2557
รายชื่อโรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายหัวใจ หัวใจและปอด ปอด

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 ธันวาคม 2561

โรงพยาบาล เริ่มเป็นสมาชิกตั้งแต่
1. จุฬาลงกรณ์ 1 กุมภาพันธ์ 2537
2. ศิริราช 1 กุมภาพันธ์ 2537
3. ราชวิถี 1 กุมภาพันธ์ 2537
4. บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล* 1 กุมภาพันธ์ 2537
5. รามาธิบดี 22 กุมภาพันธ์ 2560
รายชื่อโรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายไตและตับ

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 ธันวาคม 2561

โรงพยาบาล เริ่มเป็นสมาชิกตั้งแต่
1. จุฬาลงกรณ์ 8 ธันวาคม 2547
2. รามาธิบดี 8 ธันวาคม 2547
3. ศิริราช 8 ธันวาคม 2547
4. บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล* 8 ธันวาคม 2547
รายชื่อโรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายไตและตับอ่อน

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 ธันวาคม 2561

โรงพยาบาล เริ่มเป็นสมาชิกตั้งแต่
1. จุฬาลงกรณ์ 8 ธันวาคม 2547
2. รามาธิบดี 8 ธันวาคม 2547
3. ศิริราช 8 ธันวาคม 2547
รายชื่อโรงพยาบาลสมาชิกสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายตับอ่อน

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 ธันวาคม 2561

โรงพยาบาล เริ่มเป็นสมาชิกตั้งแต่
1. จุฬาลงกรณ์ 8 ธันวาคม 2547
2. รามาธิบดี 8 ธันวาคม 2547
3. ศิริราช 8 ธันวาคม 2547
4. มหาราชนครเชียงใหม่ 16 พฤษภาคม 2561
รายชื่อโรงพยาบาลสมาชิกวิสามัญฯ เพื่อปลูกถ่ายไต

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 ธันวาคม 2561

โรงพยาบาล เริ่มเป็นสมาชิกตั้งแต่
1. พุทธชินราช พิษณุโลก 20 มิถุนายน 2544
2. รามคำแหง* 20 มิถุนายน 2544
3. มหาราชนครราชสีมา 13 มิถุนายน 2555
รายชื่อโรงพยาบาลสมาชิกสมทบฯ เพื่อปลูกถ่ายไต

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 – 31 ธันวาคม 2561

โรงพยาบาล เริ่มเป็นสมาชิกตั้งแต่
1. ระยอง 20 กันยายน 2543
2. สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา 20 มิถุนายน 2544
3. ลาดพร้าว* 20 มิถุนายน 2544
4. นนทเวช* 23 มกราคม 2545
5. บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล* 13 มิถุนายน 2555
6. มหาวิทยาลัยนเรศวร 19 กันยายน 2555
7. เวชธานี* 19 กันยายน 2555
8. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 31 มีนาคม 2557
9. ร้อยเอ็ด 19 สิงหาคม 2558
10. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ 27 มกราคม 2559
11. เชียงรายประชานุเคราะห์ 10 สิงหาคม 2559
12. ราชบุรี 22 พฤศจิกายน 2560
13. ปิยะเวท* 15 สิงหาคม 2561
หมายเหตุ * หมายถึง โรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลสมาชิกสามัญ หมายถึง โรงพยาบาลสมาชิกที่พร้อมทำการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีชีวิตและผู้บริจาคสมองตาย
โรงพยาบาลสมาชิกวิสามัญ หมายถึง โรงพยาบาลสมาชิกที่พร้อมทำการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีชีวิต
โรงพยาบาลสมาชิกสมทบ หมายถึง โรงพยาบาลที่สมัครเป็นสมาชิกศูนย์รับบริจาคอวัยวะ ซึ่งคณะกรรมการวิชาการศูนย์รับบริจาคอวัยวะพิจารณาแล้วเห็นว่า ยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน
หมายถึง เครื่องหมายกาชาด
หมายถึง ผู้บริจาคอวัยวะ
หมายถึง ผู้รับอวัยวะ

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร. 1666 หรือ 0 2256 4045-6 โทรสาร 0 2255 7968
อีเมล์: odc-trcs@redcross.or.th

สายรถเมล์ที่ผ่าน ถ.พระรามที่ 4 : สาย 4, 25 (ปากน้ำ-สามแยก), 46, 47, 50, 67, 109, ปอ.507
สายรถเมล์ที่ผ่าน ถ.อังรีดูนังต์ : สาย 16, 21, ปอ.21, ปอ.141

รถไฟฟ้า สถานีสีลม
รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน