รู้จักหัวใจกันหน่อย

หัวใจ (heart) เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หัวใจของคนนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้

 

เมื่อใดที่จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

การพิจารณาการรักษาผู้ป่วยด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เมื่อ ผู้ป่วยที่มีสภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลวระยะสุดท้ายที่มีค่าความสามารถในการบีบเลือดออกจากหัวใจ (Ejection fraction) เหลือน้อยกว่าร้อยละ 25 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงส่งผลให้เกิดอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจำไม่สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการด้วยการรักษาแบบอื่นได้ ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีลักษณะของโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน

 

ข้อจำกัดในการเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

  • มีอายุมากกว่า 65 ปี
  • เป็นโรคไต โรคปอด หรือ โรคตับร่วมด้วย หรือเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เป็นโรคเบาหวานชนิดต้องรับการรักษาด้วยอินซูลิน โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็ง
  • เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบหมุนเวียนโลหิต เช่น หลอดเลือดตีบตันของลำคอและขา โรคความดันสูงในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด มีก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดต่างๆชนิดเฉียบพลัน
  • มีปัญหาการติดเชื้อรุนแรงในร่างกาย
  • เป็นผู้ป่วยโรคจิต ไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล หรือติดตามการรักษาต่อเนื่องได้

 

ข้อจำกัดในกระบวนการปลูกถ่ายหัวใจ

การปลูกถ่ายหัวใจหรือหัวใจ-ปอดนั้นเป็นอวัยวะที่เก็บรักษาได้ในเวลาไม่นานนัก คือไม่ควรเกิน ๔ ชั่วโมง นับตั้งแต่ปิดทางเดินเลือดในการผ่าตัดหัวใจของผู้บริจาค จนกระทั่งเปิดให้เลือดไหลผ่านหัวใจใหม่ในผู้รับการปลูกถ่าย ดังนั้นการปลูกถ่ายหัวใจหรือหัวใจ-ปอดนั้น ต้องมีการประสานงานเป็นอย่างดีระหว่างทีมผ่าตัดรับบริจาคอวัยวะ (Harvesting or Procurement team) และทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ (Transplant team)
อัตรารอดชีวิตในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจที่ 1 ปี ประมาณมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และในระยะ5 ปีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจส่วนใหญ่จะปกติ แต่ประมาณ 10-15% จะดื้อต่อหัวใจที่ปลูกถ่าย ทำให้มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว จนถึงขั้นอาจหัวใจวายได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนหัวใจจะมีชีวิตอยู่ได้เฉลี่ยประมาณ 10 ปี.
หากผู้ป่วยมีโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงความดันเลือดสูง โรคอ้วน อัตราอยู่รอดก็จะต่ำลงบางครั้งเราอาจไม่ต้องเปลี่ยนทั้งหัวใจทั้งดวง แต่เราสามารถเปลี่ยนเฉพาะลิ้นหัวใจก็ได้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับลิ้นหัวใจกันเถอะ

 

ลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจ (heart valve) มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ ลิ้นหัวใจที่ผิดปกติจะไม่สามารถควบคุมกระแสเลือดให้ไหลไปทางเดียว ไปข้างหน้าได้อย่างสะดวก เช่น ลิ้นหัวใจเปิดได้ไม่เต็มที่ซึ่งก็จะทำให้เกิดลิ้นหัวใจตีบ หรือถ้าลิ้นหัวใจปิดไม่สนิททำให้มีเลือดรั่วไหลย้อนกลับก็จะทำให้เกิดลิ้นหัวใจรั่ว
การบริจาคลิ้นหัวใจเป็นส่วนหนึ่งของการบริจาคเนื้อเยื่อ เมื่อผู้บริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อมีสภาวะสมองตายแล้วพบว่าพยาธิสภาพของหัวใจที่บริจาคไม่เหมาะสมหรือมีความเสี่ยงสูงต่อความสำเร็จในการปลูกถ่ายหัวใจ เนื่องจากสาเหตุหลายประการเช่น มีความเสียหายเกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการบริจาคหัวใจเกิดขึ้นเมื่อผู้บริจาคเสียชีวิตแล้ว ทำให้ไม่สามารถบริจาคหัวใจทั้งดวงได้ ทางการแพทย์ยังสามารถผ่าตัดนำเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจ มาเก็บรักษาในคลังเนื้อเยื่อ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ได้

 

เมื่อใดที่จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

โรคที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจ จัดเป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อย สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจโดยทั่วไปเช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคไข้รูมาติก การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่ว การแก้ไขผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจรั่วนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม ลิ้นหัวใจที่ได้รับบริจาค หรือผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจเดิมโดยไม่ต้องใช้ลิ้นหัวใจเทียมก็ได้

 

ลักษณะและหน้าที่ของหัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกาย มีขนาดเท่ากำปั้นของเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำโลหิตใช้งานแล้วที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ไปฟอกที่ปอดต่อไป หัวใจจะเต้นประมาณ 75 ครั้ง/นาที

 

การดูแลรักษาหัวใจให้แข็งแรง

  • รับประทานอาหารที่ดีมีคุณค่าอย่างพอเหมาะ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมากเกินไป เพราะจะทำให้ มีการสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือด หลอดเลือดตีบตัน ทำให้เลือดหมุนเวียนไม่สะดวก
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ทำจิตใจ อารมณ์แจ่มใส และไม่เครียด

 

โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ

  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ
  • โรคหัวใจรูมาติค (โรคของลิ้นหัวใจ)
  • หัวใจล้มเหลว

 

การปลูกถ่ายหัวใจ

ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้าย ด้วยสาเหตุกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดเลือด หรือสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่สามารถรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดทั่วไปได้ จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายหัวใจ ซึ่งเป็นหนทางสุดท้ายที่จะรอดชีวิตได้ ในปัจจุบัน ผลการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยร้อยละ 70-80 สามารถดำรงชีวิตได้เกิน 1 ปี หลังได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ และพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้เกิน 5 ปี ถึงร้อยละ 60

 

หัวใจใหม่ได้มาจากไหน

หัวใจใหม่นี้จะได้รับจากผู้เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายและได้บริจาคอวัยวะให้ โดยได้รับความยินยอมจากญาติซึ่งนับเป็นการทำบุญกุศลอันยิ่งใหญ่