มารู้จักกับตับกันเถอะ

ตับเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณช่องท้องทางด้านขวาบน มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ถูกบดบังอยู่ใต้ชายโครง ตับเป็นอวัยวะที่หนักราว 1.2 กิโลกรัม ตับมีอันเดียว บางครั้งแพทย์มักจะบอกเราให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามีตับกลีบขวาขนาดใหญ่และกลีบซ้ายขนาดเล็ก ตับทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตและสะสมพลังงาน กำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเมื่อร่างกายย่อยและดูดซึมอาหารจากกระเพาะอาหารและลำไส้ สารอาหารและวิตามินล้วนถูกปรับเปลี่ยนดัดแปลงไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับร่างกาย และสะสมเป็นพลังงานเพื่อใช้ในคราวจำเป็น รวมทั้ง กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และผลิตน้ำย่อย เรียกว่าน้ำดี เพื่อย่อยสารอาหารจำพวกไขมันผ่านทางท่อน้ำดี เพื่อย่อยไขมันในลำไส้

 

การปลูกถ่ายตับคืออะไร

การรักษาผู้ป่วยโรคตับที่มีอาการของโรครุนแรงระยะท้าย ตับมีการทำงานน้อยลงมากและอาจเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น ในผู้ป่วยที่มีภาวะตับวายเฉียบพลัน ตับแข็ง และมะเร็งตับที่มีจำนวนก้อนมะเร็งตับไม่เกินสามก้อนและไม่อยู่ในระยะแพร่กระจาย การปลูกถ่ายตับในระยะ 1-3 ปีมีโอกาสรอดชีวิตประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตหลังการปลูกถ่ายตับราว 20 เปอร์เซ็นต์ เสียชีวิตด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เกิดภาวะต้านตับ และอาจเกิดจากโรคปกติของคนทั่วไปได้

 

ตับที่จะปลูกถ่ายได้มากไหนบ้าง

  1. จากผู้บริจาคสมองตาย ซึ่งในทางกฎหมายและทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้เสียชีวิตแล้ว แต่ตับยังทำงานได้ดี โดยต้องได้รับความยินยอมจากญาติสนิท โดยผ่านการบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยเป็นผู้จัดสรรให้กับผู้รอรับตับอย่างเป็นธรรม
  2. จากผู้บริจาคมีชีวิต ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุตามกฎหมาย ผู้บริจาคตับต้องเป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือเป็นสามีภรรยาที่แต่งงาน หรืออยู่ด้วยกันมากกว่า 3 ปี ยกเว้นมีบุตรด้วยกันก็ไม่จำเป็นต้องรอจนครบ 3 ปี

 

ใครบ้างที่สามารถรับการปลูกถ่ายตับได้

  1. ผู้ป่วยที่มีอายุไม่ควรเกิน 65 ปี หรือตามวินิจฉัยของแพทย์
  2. ต้องไม่มีโรคที่รุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด
  3. ต้องไม่เป็นมะเร็ง (ยกเว้นมะเร็งตับที่ไม่อยู่ในระยะแพร่กระจาย) หรือโรคติดเชื้อร้ายแรง ที่ยังรักษาไม่หายขาด

 

ข้อบ่งชี้ของการเปลี่ยนตับ

  • โรคตับอักเสบเฉียบพลันและตับวายชนิดรุนแรงจนมีโอกาสรอดชีวิตน้อยมาก
  • โรคตับแข็งระยะท้ายจนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น บวม มีน้ำในช่องท้อง โปรตีนอัลบูมินต่ำมาก และมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • โรคตับแข็งระยะท้าย เมื่อผู้ป่วยมีน้ำในท้องร่วมกับการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง
  • โรคมะเร็งตับแบบปฐมภูมิ (Hepatoma) โดยมีก้อนเดียวขนาดเท่ากับ 5 เซนติเมตรหรือเล็กกว่า หรือกรณีมีไม่เกิน 3 ก้อนในตับ โดยแต่ละก้อนมีขนาดเท่ากับ 3 เซนติเมตรหรือเล็กกว่า และมะเร็งจะต้องไม่กระจายไปยังหลอดเลือดขนาดใหญ่ของตับ หรือกระจายออกนอกตับ
  • โรคตับแข็งจนผู้ป่วยมีอาการเพลียมากจนทำงานไม่ได้ คันมากจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น

แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการของโรคตับมาก และมีข้อบ่งชี้ในการเปลี่ยนตับก็ตาม สิ่งที่แพทย์จะต้องประเมินอีกด้านคือ มีข้อห้ามในการทำการเปลี่ยนตับหรือไม่ เพราะถ้าทำไป ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตหลังการเปลี่ยนตับจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือมะเร็งตับมีการกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกายในเวลาไม่นานหลังการเปลี่ยนตับ

 

ตับที่จะปลูกถ่ายได้มากไหนบ้าง

  • มะเร็งตับที่เกิดจากมะเร็งของท่อน้ำดี ซึ่งพบมากในทางภาคอีสานหรือภาคเหนือของไทย
  • มะเร็งตับที่กระจายมาจากที่อื่น เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่กระจายมาที่ตับ
  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อไวรัสเฮชไอวี (HIV) ระยะที่ภูมิต้านทานต่ำและเกิดโรคแทรกซ้อน และควบคุมโรคไม่ได้ (AIDS)
  • มีสภาพร่างกายไม่เหมาะสมในการทำผ่าตัดใหญ่ เช่นโรคหัวใจขาดเลือดที่รุนแรง
  • อายุมากเกินควร โดยมักจะไม่ทำการเปลี่ยนตับในผู้ป่วยอายุเกิน 65 ปี แต่ก็อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์

 

ลักษณะและหน้าที่ของตับ

ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในช่องท้อง อยู่บริเวณชายโครงด้านขวาเลยมาถึงลิ้นปี่ หนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม หน้าที่ของตับมีมากมายหลายอย่าง ดังนี้

  • สะสมธาตุเหล็ก วิตามินและเกลือแร่หลายชนิดที่ร่างกายต้องการ
  • สร้างน้ำดี ที่จะช่วยย่อยอาหาร
  • ทำลายสารพิษต่างๆ ที่กินเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ ยาต่างๆ
  • เป็นแหล่งสะสมพลังงานให้ร่างกายโดยเก็บในรูปของน้ำตาล
  • สร้างสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
  • กรองและกำจัดสารพิษ และเชื้อโรค
  • สร้างสารที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน

 

การดูแลรักษาหัวใจให้แข็งแรง

  • ไม่ดื่มสุรา เบียร์ หรือของมึนเมา
  • ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อ เพราะสารเคมีจะทำลายตับได้
  • ระวังอย่าสูดดมพวกละอองสเปรย์ต่างๆ
  • สวมถุงมือ ใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวกและหน้ากากทุกครั้งที่พ่นหรือผสมยาฆ่าแมลง
  • ไม่สำส่อนทางเพศ
  • ไม่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ไม่รับประทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและน้ำต้มสุก มีภาชนะปิดอย่างมิดชิด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

โรคที่เกี่ยวกับตับ

  • โรคไวรัสตับอักเสบบี และซี
  • โรคตับแข็ง
  • โรคมะเร็งตับ
  • ท่อน้ำดีตีบตันในเด็ก
  • ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
  • โรคความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมแต่กำเนิด

 

การปลูกถ่ายตับ

เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยตับวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าหากให้การรักษาด้วยวิธีทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือมะเร็งตับ การปลูกถ่ายตับจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีความพิการของตับมาแต่กำเนิด ตับใหม่ที่ได้รับการปลูกถ่าย สามารถทำหน้าที่ได้ดีในปีแรกของการผ่าตัดมีจำนวนถึงร้อยละ 75 และในเด็กจะมีจำนวนถึงร้อยละ 80

 

ตับใหม่ได้มาจากไหน

ตับใหม่ได้มาจากผู้ที่เสียชีวิต โดยภาวะสมองตาย ซึ่งญาติผู้เสียชีวิตได้เห็นประโยชน์ และยินยอมบริจาค ปัจจุบันอัตราการบริจาคอวัยวะในประเทศเรายังมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายเหล่านี้ ประมาณว่ามีผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้าย ที่ต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ จำนวนหลายพันคนต่อปี ในขณะที่ผู้บริจาคอวัยวะมีไม่ถึงร้อยคนต่อปี