เมื่อใดที่จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนปอด

การปลูกถ่ายปอด คือกระบวนการผ่าตัดปลูกถ่ายปอดบางส่วนหรือทั้งหมด ให้แก่คนไข้ที่มีสภาวะโรคปอด ซึ่งจำเป็นต้องรับการปลูกถ่ายปอดทั้งสองข้าง เพื่อประโยชน์ในการยืดอายุผู้ป่วย และเพิ่มคุณภาพชีวิตแต่ผู้ป่วยโรคปอดในระยะสุดท้าย การผ่าตัดปลูกถ่ายปอดครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จ คือในปีคศ. 1981 โดย Dr. Bruce Reitz จากมหาวิทยาลัย Stanford University ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง( idiopathicpulmonary hypertension) ในประเทศไทย

โรคปอดในขั้นรุนแรงที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายปอดได้แก่

  1. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease)
  2. โรคที่เกิดผังผืดในปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ idiopathic pulmonary fibrosis
  3. โรคซิสติก ไฟโบรซิส cystic fibrosis
  4. โรคความดันของหลอดเลือดในปอดสูง primary pulmonary hypertension
  5. โรคถุงลมโป่งพองจากการขาด อัลฟ่า 1 alpha 1-antitrypsin deficiency
  6. โรคอื่นๆ หรือทดแทนการปลูกถ่ายปอดครั้งก่อนหน้าที่ไม่ประสบความสำเร็จ

ข้อมูลการผ่าตัดปอด ในปี พ.ศ. 2557 มีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ-ปอด 4 ราย และเปลี่ยนปอด (Single Lung transplantation) 1 ราย โดยในเดือนกันยายน 2558 มีผู้รอผ่าตัดเปลี่ยน หัวใจและปอด 21 ราย และเปลี่ยนปอด 5 ราย โดยระหว่างที่ผู้รอรับบริจาคปอดผู้ป่วยจะรับการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่นการรับยาขยายหลอดเลือด ยากลดการอักเสบ การรักษาโดยการให้ออกซิเจน และการทำกายภาพบำบัด เป็นต้น หากผู้ป่วยมีอาการกำเริบจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ จะพิจารณารักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

 

ลักษณะและหน้าที่ของปอด

ปอด มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีน้ำหนักเบา สามารถขยายตัวและหดตัวจนเหลือเนื้อที่แคบ มีความยืดหยุ่นเป็นเยี่ยม โดยทั่วไปแล้วปอดมีหน้าที่หายใจ แลกเปลี่ยนก๊าซ โดยหายใจเอาก๊าซออกซิเจนเข้าและหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก

 

การดูแลรักษาหัวใจให้แข็งแรง

  • ไม่สูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละออง
  • สวมเสื้อผ้าให้หนา เพื่อให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย (ปอด)
  • เวลานอนควรห่มผ้าปิดหน้าอกให้มิดชิด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

โรคที่เกี่ยวกับปอด

  • หลอดลมอักเสบ
  • หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • หลอดลมโป่ง
  • ถุงลมโป่งพอง
  • ปอดบวม
  • หืด
  • วัณโรค
  • เยื้อหุ้มปอดอักเสบ
  • มะเร็งในปอด

 

การปลูกถ่ายปอด

เป็นการเอาปอดใหม่ที่ดีกว่ามาใส่ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดระยะสุดท้าย หรือโรคปอดระยะสุดท้ายที่เกิดจากปัญหาหัวใจ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือมักมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 6-12 เดือน ผลของปอดที่นำมาเปลี่ยนภายใน 1 ปี จะทำงานได้ดีถึงร้อยละ 75

 

ปอดใหม่ได้มาจากไหน

ปอดใหม่นี้จะได้จากผู้เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย และได้บริจาคอวัยวะให้โดยได้รับความยินยอมจากญาติ ซึ่งนับเป็นการทำบุญกุศลอันยิ่งใหญ่